ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ผลงานนักเรียนของ นายชนะกานต์ นกทอง ได้เลยครับ

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘
มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก
ความเป็นมา
  พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี
นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ
ประวัติผู้แต่ง
-                    สำนักวัดถนน – กัณฑ์ทานกัณฑ์
-                   สำนักวัดสังข์กระจาย – กัณฑ์ชูชก
-                   พระเทพโมลี (กิ่น) – กัณฑ์มหาพน

-                   เจ้าพระยาพระคลัง (หน) กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่7เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์

   หน่วยการเรียนรู้ที่7
                          เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์
ความเป็นมา
    เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
   แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
      ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์11
       เรื่องย่อ
   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลสูงสุด 38 ประการ ไว้ในมงคลสูตรซึ่งสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระไตรปิฏก ขุททกนิกาย หมวดทขุททกปาฐะ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่6เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติผู้แต่ง
             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
             นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา  การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการ
ลักษณะคำประพันธ์

 ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง  ความคิดเห็นที่มานำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการ สำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นมาก่อน อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่5 เรื่องหัวใจชายหนุ่ม

หน่วยที่๕
เรื่องหัวใจชายหนุ่ม
.ความเป็นมา
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิตเมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน อ่านเพิ่มเติม